วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เวทีความรู้ความเข้าใจเรื่องแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง”


วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ มีการจัดเวทีความรู้ความเข้าใจเรื่องแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ให้กับคนใชชุมชนเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาหมู่บ้านไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพและพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ตามพระราชดำรัส เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีผุ้เข้าร่วมกว่า ๖๕ คน

วัฒนธรรมปี๋ใหม่เมือง

กิจกรรม
ทำบุญใจ๋บ้าน และ
ดำหัวผู้สูงอายุ

กิจกรรมการทำของที่ระลึก ของชำร่วยเพื่อสร้างรายได้ ลดรายจ่าย







กลุ่มเยาวชนและครอบครัว จำนวน ๑๒ ครอบครัวในบ้านสันกองหมู่ที่ ๗ จัดกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ และเป็นการสอนบุตรหลานด้วยความรู้ ภูมิปัญญา รวมถึงการปรับประยุกต์ให้ทันสมัย ซึ่งเป็นการทำตุ๊กตาไหมพรมในรูปแบบต่าง ๆ

กิจกรรมการปลูกต้นไม้เพื่อทดแทนคุณแผ่นดิน


เนื่องในวันปิยะมหาราช กลุ่มเยาวชนฮักบ้านเกิด ร่วมกันปลูกต้นไม้เพื่อสร้างออกซิเจนในอากาศ ลดภาวะโรคร้อน และทำความดีเพื่อทดแทนคุณแผ่นดินในพื้นที่ ต.แม่ไร่

กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินการ


กลุ่มฮักบ้านเกิด คือ กลุ่มชาวบ้านที่มีความต้องการปรับเปลี่ยน อยากทำเพื่อการเปลี่ยนแปลงผ่านกิจกรรมของโครงการ และร่วมกันคิดร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มเพื่อนบ้าน คือ กลุ่มชาวบ้านที่ยังไม่เข้าร่วมทุกกิจกรรม แต่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าร่วมกิจกรรม
องค์กรความร่วมมือ คือ องค์กรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน ชุมชน เช่น พัฒนาชุมชนอำเภอ สอ. ฯลฯ

วัตถุประสงค์โครงการฯ


- เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาหมู่บ้านไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพและพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ตามพระราชดำรัส เศรษฐกิจพอเพียง
- เพื่อสร้างความร่วมมือในหมู่บ้าน ในการลด ละ เลิก สิ่งเสพติดและอบายมุข
- เพื่อให้สมาชิกในหมู่บ้านมีความสุข และมีจิตสำนึกในการช่วยเหลือ และทำงานเพื่อส่วนรวม
- เพื่อสร้างและพัฒนาหมู่บ้านให้มีสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัย ที่เอื้อต่อสุขภาพ และ ปลอดภัย

ความเป็นมา / หลักการเหตุผล

หมู่บ้านสันกอง เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่มีประชากรค่อนข้างมาก ซึ่งอาชีพส่วนใหญ่คือ เกษตรกร ทำนา ทำไร่ ทำสวน และรับจ้างทั่วไป ซึ่งจากอาชีพดังกล่าวโดยเฉพาะการทำเกษตรกร ทำนา ทำไร่ ทำสวนไม่สามารถสร้างสุขที่แท้จริงได้ ส่งผลให้เกิดปัญหา สิ่งแวดล้อมและสุขภาพเนื่องจากการใช้สารเคมีที่มีจำนวนมากเกินไป (ต้นทุนสูง) ทำนาไม่ได้เงิน เกิดปัญหาหนี้สินจากการทำอาชีพที่เน้นการปลูกพืชเพื่อเงินและการสนับสนุนงบทุนจากรัฐ ส่วนการสนับสนุนงบทุนจากรัฐก็ส่งผลให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกันในชุมชน ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง การแบ่งเป็นก๊กเป็นหมู่ในหมู่บ้าน ซึ่งปัญหาที่กล่าวมาเบื้องต้นอาจเกิดจากการที่แต่ละคนในชุมชนไม่มีโอกาสที่จะได้มาพูดคุย และ มีส่วนร่วมในการที่จะร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมกันทำ เพราะทุกคนคิดว่างานแต่ละเรื่องไม่ใช่เรื่องของตนเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่ม ชุมชนจึงขาดความสามัคคีมากขึ้นเรื่อย ๆเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้น กลุ่มเยาวชนในชุมชนจึงคิดหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยการเปิดโอกาส หรือ สร้างกิจกรรมให้คนในชุมชนได้พูดคุยกันโดยการนำร่องในกลุ่มเยาวชนเองมีการจัดกลุ่มการออมเงินเพื่อการสร้างสวัสดิการให้คนในชุมชน การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ซึ่งกลุ่มสวัสดิการเริ่มก่อตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 พ.ค.51 มีการช่วยเหลือกันตั้งแต่เกิดจนตาย และมีการขยายต่อไปยังกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน แต่ก็เป็นแค่เพียงกลุ่มเล็ก ๆ และยังครอบคลุมทั้งชุมชน ซึ่งในชุมชนคิดว่าการทำงานเพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนในชุมชนรู้จัก การเอื้ออาทร การแบ่งปันกันบนพื้นฐานของสังคมที่มีมาแต่ดั้งเดิม และใช้วัฒนธรรมที่ดีงาม ภูมิปัญญาต่าง ๆ มาเชื่อมงาน เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน และสร้างสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีโดยการกำหนดแผน กฏ กติกาในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน การสร้างและปรับเปลี่ยนแนวความคิดของชาวบ้านในการสร้างความสุข ด้วยการพออยู่ พอกิน เหลือกินก็แจก เหลือแจกก็ขาย ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ แทนแนวคิดที่ทำเพื่อจำหน่าย ตามวิถีชีวิตที่เน้นการพึ่งตนเอง ตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง